14 ธันวาคม 2552

**ก้างปลาติดคอทำงัยดี**

ก้างปลา ติดคอ ทำไงดี ?
ใครที่เคยมีประสบการณ์ “ก้างปลา” ติดคอ คงจะรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดเป็นอย่างดีว่า การกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เป็นอย่างไร


แค่จะกลืนน้ำลายตัวเองสุดแสนจะทรมาน บางรายโชคดี ใช้วิธีดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือ กลืนข้าวคำโต ๆ แล้วได้ผล แต่หลายคนใช้สารพัดวิธีก็ไม่หาย สุดท้ายต้องโร่ไปให้หมอช่วยเอาออกก็เยอะ ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบข้อมูลในเรื่องนี้จึงขอยกข้อมูลจาก ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.นพ.ปารยะ อธิบาย ว่า ก้างปลาติดคอพบได้ทุกช่วงอายุ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาว่าเป็นช่วงอายุใดมากที่สุด และเป็นก้างปลาชนิดใดมากที่สุด แต่จากประสบการณ์ที่เจอมักจะเป็นปลาทู คงเป็นเพราะประชาชนนิยมบริโภคมากก็เป็นได้ ปลาอื่น ๆ ก็มีมาให้เห็นเหมือนกันแต่ค่อนข้างน้อย คนไข้ที่มาหาหมอส่วนมาก ก้างปลาติดคอมา 2-3 วันแล้ว ที่ติดคอปุ๊บมาหาหมอทันทีจะน้อย

ส่วนใหญ่จะรู้วิธีว่า ต้องดื่มน้ำมาก ๆ หรือกลืนข้าวคำโต ๆ ในบางรายก็ใช้ได้ผล เนื่องจากก้างปลาปักอยู่บริเวณตื้น ๆ พอกลืนข้าวก้างก็ติดลงไปกระเพาะ อาหาร สามารถขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ แต่ถ้าก้างปักลึก การกลืนข้าวคำโต ๆ อาจไปกดก้างให้ปักลึกกว่าเดิม

ดังนั้นในรายที่อาการไม่ดีขึ้นจึงมาหาหมอ เราไม่เคยนับสถิติจำนวนคนไข้ในแต่ละปี แต่ที่ รพ.ศิริราช น่าจะมีคนไข้ประมาณ 2-3 รายต่อวัน ส่วนใหญ่มักจะมาตอนกลางคืนที่แผนกอุบัติเหตุ หมอทั่วไปตรวจดูแล้วไม่พบก้างปลา ก็จะมาปรึกษาหมอหู คอ จมูก อาการคนไข้ก้างปลาติดคอ คือ เจ็บคอ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บ ส่วนใหญ่คนไข้จะชี้บอกได้เลยว่า เจ็บตรงไหน บวกกับการซักประวัติ ว่าไปทานแกงปลา ปลาทอด กลืนน้ำลายก็เจ็บทุกครั้ง อันนี้เป็นครูที่จะบอกว่ามีปัญหาก้างปลาติดคอคนไข้บางรายปล่อยทิ้งไว้นาน อาจมาด้วยอาการอักเสบ ติดเชื้อ มีหนอง ในช่องคอ โดยเฉพาะถ้าก้างปลาติดที่หลอดอาหาร ทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังของหลอดอาหาร จนเกิดการทะลุของหลอดอาหาร เกิดการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มระหว่างหัวใจและช่องปอดได้ แต่พบได้น้อย

ตำแหน่งที่พบก้างปลาติดบ่อย คือ บริเวณต่อมทอนซิล บริเวณโคนลิ้น บริเวณฝาปิดกล่องเสียง บริเวณใกล้หลอดรูเปิดทางเดินอาหาร แพทย์หู คอ จมูก จะใช้กระจกเล็ก ๆ เหมือนกับหมอฟัน สวมเฮดไลต์ ที่ศีรษะ ส่องตรวจดู ส่วนใหญ่จะเจอ ก็ใช้อุปกรณ์คีบออกมาในบางรายก้างปลาอยู่ลึก คนไข้อาเจียนง่าย ไม่สามารถเอาก้างออกได้ จะพ่นยาชา ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วพยายามอีกที ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ทำอย่างไรก็ไม่ออก อาจต้องดมยาสลบ ให้คนไข้นอนแล้วลองดูอีกที แต่ส่วนใหญ่จะสามารถเอาก้างออกได้ที่ห้องตรวจเลย ที่ต้องดมยาสลบมีน้อยรายมาก

ก้างปลาติดคอทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่ ?
ผศ.นพ.ปารยะ กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่เคยเจอ ที่เจอมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง คือ เจอปักอยู่ที่หลอดอาหารแล้วทะลุออกมาที่คอ เนื่องจากก้างปลาเป็นวัสดุแปลกปลอม ร่างกายจะผลักมันออกมา บางคนทะลุหลอดอาหารมาถึงผิวหนังที่คอก็มี

มีคำแนะนำให้ฝานมะนาวเป็นชิ้นๆ นำมาอมหรือบีบน้ำมะนาวลงคอ ?
ผศ.นพ.ปารยะ กล่าวว่า สมัยก่อนเชื่อว่ามะนาวจะทำให้ก้างอ่อนลง แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน ก็พูดลำบาก เพราะถ้าก้างปลามีแคลเซียมเยอะ ก็คงยากที่มะนาวจะกัดกร่อนหรือสลายไปได้ ท้ายนี้ขอแนะนำว่า การกินปลาทุกครั้งควรมีสติ คือ เอาก้างออกก่อน แล้วกินช้า ๆ ค่อย ๆ เคี้ยว ค่อย ๆ กลืน เพราะจากที่เคยสอบถาม คนไข้ส่วนใหญ่ มักจะกินไปคุยไป ไม่ทันได้ดูว่า ปลาที่ตักใส่ปากมีก้างหรือไม่ พอรีบเคี้ยวรีบกลืน
ก็เลยทำให้ก้างติดคอ


-----------------

ข้อแนะนำสำหรับการสอบสัมภาษณ์งาน


การสัมภาษณ์เป็นส่วนหนึ่งของการได้รับเลือกให้เข้าทำงาน ดังนั้นควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกไปสัมภาษณ์งาน วันนี้มีวิธีมาแนะนำ

1. การสอบสัมภาษณ์งานส่วนใหญ่เริ่มจากการถามประวัติส่วนตัว ฉะนั้นการเล่าประวัติส่วนตัวควรมีความกระชับและเข้าใจได้ในครั้งแรกที่ฟัง
2. ความถนัด สิ่งนี้จะนำไปตัดสินว่าคุณควรจะเข้าทำงานในตำแหน่งใด เพราะในเวลาทำงานจริง จะได้ไม่มีปัญหากับงานที่ได้รับมอบหมาย การทำกิจกรรมหรือการร่วมมือกับหน่วยงาน เป็นการบอกว่าในระหว่างที่เรียนคุณมีการทำกิจกรรมใดมาบ้าง เพื่อจะได้ทราบว่าคุณสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3. ผลงานที่เคยทำ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้ในการวัดความสามารถ หากไม่มีก็ไม่ได้หมายความความคุณจะเสียโอกาสเข้าทำงานในที่นั้นๆเตรียมคำตอบให้พร้อม ใส่เสื้อผ้าสีสุภาพ แล้วลุยเลย.

วิธีทำรายงานให้สมบูรณ์







1.หัวข้อเรื่อง โดยทั่วไปอาจารย์จะกำหนดให้ แต่หากน้อง ๆ เลือกเอง ควรเลือกเรื่องที่สนใจ มีขอบเขตเนื้อหาไม่กว้างหรือแคบเกินไป และคาดว่าจะมีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอ จะช่วยให้การทำรายงานสนุกและได้ความรู้เพิ่มขึ้น



2.ค้นคว้าข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ซีดีที่เกี่ยวข้อง จะได้ความละเอียด แม่นยำ หลากหลาย และทันสมัย สำหรับการค้นจากหนังสือซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานนั้น จะดูจากหนังสืออ้างอิง โดยศึกษาศัพท์เฉพาะไว้เป็นพื้นฐานของเรื่องที่จะทำ รวมทั้งดรรชนีวารสาร ซึ่งจะใช้ค้นบทความจากวารสาร



3.เรียบเรียงข้อมูล โดยวางโครงเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับ แบ่งเนื้อหาเป็นบท จากหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ตามด้วยหัวข้อย่อยที่มีความสำคัญรองลงมา จากนั้นเขียนอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ



4.ทำบรรณานุกรม อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้า เพื่อความสมบูรณ์และน่าเชื่อถือของเนื้อหารายงาน เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็มาปิดท้ายด้วย 'ชื่อเรื่อง' ควรตั้งให้กะทัดรัด ครอบคลุมเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของรายงานที่ทำนอกจากทำรายงานแล้ว การนำเสนอหน้าชั้นก็มีความสำคัญ อย่าลืม! ศึกษาเนื้อหาให้เข้าใจ อาจจดหัวข้อสำคัญไว้ดูเผื่อลืม รวมทั้งฝึกซ้อมพูดก่อนนำเสนอจริง เพื่อความพร้อมและความสมบูรณ์ของงาน.

วิธีแก้ง่วงเวลาเรียน



1. ถ้ารู้ว่าตัวเองต้องเข้าเรียนแต่เช้า : ก็อย่าดูหนังดูละครจนดึกเกินสี่หรือห้าทุ่ม เพราะเวลานอนที่ขาดไปมันมักจะมาเอาคืนช่วงเรียนพิเศษที่มีอาจารย์ในดีวีดีมากล่อมเสมอ ข้อนี้สำคัญมาก เพราะหากนอนดึกแล้ว ก็ไม่มีวิธีไหนที่จะมาทำให้เราหายง่วงได้ นอกจากไปกินกระทิงแดง (แต่ก็ไม่แนะนำว่าไม่ดีต่อสุขภาพ)



2. พกขนมหรือน้ำเข้าไปด้วย : แต่ !!! ห้ามกินตั้งแต่เริ่มเรียน เพราะจะทำให้ง่วงง่ายมากกกกก ให้กินเมื่อเริ่มง่วงเท่านั้น (บางทีลองซื้อขนมที่เวลาแกะแล้วเสียงดังๆ เพราะเวลาแกะขนมนั้นจะทำให้เราตื่นเต้นและกลัวว่าคนข้างๆ จะด่า (มันมีวิธีอย่างนี้ด้วยเรอะ) ทำให้ตาสว่าง แต่ถึงอย่างไร ถ้าคิดว่าจะรบกวนคนข้างๆ ละก็ ก็ให้ซื้อขนมจุกจิกเล็กๆน้อยๆไปแทน) เมื่อหายง่วงก็ให้หยุดกินแล้วตั้งใจเรียนต่อไปซะ



3. อุปกรณ์สำหรับเรียนกวดวิชา : สำคัญนะคะ เพราะเวลาเราง่วงๆ ก็หยิบปากกาสี หรือพวกไฮไลท์มาวาดๆ เขียนในหนังสือให้มันคัลเลอร์ฟูลไปเลย แต่อย่าทำให้เลอะเทอะไป เพราะเวลาทบทวนหนังสืออาจจะทำให้เรามึนได้ ให้วาดๆ เขียนๆ ด้านหลังหนังสือก็ได้ หรือไม่ก็เวลาอาจารย์ให้เน้นอะไรก็ใส่สีให้พอสวยงามก็ทำให้เราหายง่วงได้เช่นกันค่ะ แต่ถึงยังไงก็ต้องตั้งใจฟังอาจารย์อย่ามัวแต่วาดเพลินนะคะ



4. ฝึกจินตนาการผ่านกวดวิชา : ลองมองดูอาจารย์สอนกวดวิชาสิคะ ท่านจะมีอะไรให้เราได้จินตนาการไปเรื่อยเปื่อยอยู่เสมอ ตั้งแต่คำพูดติดปากของอาจารย์ สีเสื้อผ้า ทรงผม เสียงหัวเราะของอาจารย์ บางที...มุขฝืดๆของอาจารย์ก็ช่วยพวกเราจากความง่วงงันได้เหมือนกันนะ



5. สำหรับคนที่ชอบหลับคาโต๊ะกวดวิชา : เราขอแนะนำ!! ให้ลองก้มลงไปนอนโต๊ะคนอื่นดูค่ะ (หา!!) แล้วจะไม่ง่วงอีกเลย (แต่จะได้เบ้าตาหมีแพนด้ามาแทน ...อ้าว)



6. ตั้งใจฟังอาจารย์ : เรียนให้เต็มที่ คำนวณอะไรก็คิดๆๆๆๆๆ คิดผิดก็คิดมันไป อาจารย์เฉลยว่าผิดแล้วก็ลบแอบๆ หน่อย (อายคนข้างๆ) พอเวลาคำนวณถูกก็เปิดมันเลย! ดูเส่ะๆพวกหล่อน ฉันคิดถูก ว่ะฮ่าๆๆๆ



7. สำหรับคนที่กินขนมแล้วชอบหลับ : แนะนำค่ะ ลูกอมรสเปรี้ยวๆ กินแล้วตื่นเต็มตาเลยค่ะ (แต่ถ้ากินบ่อยๆอาจทำให้คุณชินและหลับได้แม้กระทั้งในปากเปรี้ยวจี้ด) หรือไม่ก็ลูกอมมิ้นท์เย็นๆ แบบว่าเย็นสุดขั้ว กินแล้วเย็นไปถึงรูขุมขนได้ยิ่งดี นั่นจะทำให้คุณตื่น (แต่บางคนอาจจะหลับ) เรื่องลูกอมต้องค่อยๆลองไปสลับไปได้เรื่อยๆ ยิ่งดี วันนึงก็รสนึง อีกวันก็รสใหม่ จะทำให้เราไม่คุ้นและไม่ง่วง



8. หากเรียนไปแล้วเริ่มจะเข้าเฝ้าเทวดา : ให้นึกถึงเวลาที่ใกล้จะหมดสิคะ นั่นอาจจะทำให้รู้สึกลัลล้าและตื่นเต็มตาได้ แต่ถ้าหากเพิ่งจะเริ่มเรียนแล้วง่วงละก็ ลองไปล้างหน้าล้างตาดูนะคะ



9. บรรยากาศในห้องเรียน : เป็นส่วนหนึ่งทำให้เคลิ้มได้ บางทีก็เย็นจนปอดจะแข็งตาย บางทีก็ร้อนตับจะออกมานอกร่าง ขอแนะนำว่าให้ลองใจกล้าเดินไปบอกพี่ที่คุมเลยค่ะ ว่าร้อนหรือหนาว จะได้ไม่รู้สึกเคลิ้มหรือไม่เครียดขณะเรียน